วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ภาษาไทย ม.2 การยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต

การยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
            ภาษาบาลีและสันสกฤตที่ใช้อยู่ในภาษาไทยมักใช้กับ
-          ศัพท์ที่เกี่ยวกับศาสนา  เช่น ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี  ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต  เช่น  ธรรม  ศาสดา  อนิจจัง  ทุกข์  อนัตตา ปรมาตมัน  นิพพาน  ไกรวัล
-          ชื่อและนามสกุลคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักใช้ภาษาบาลีสันสกฤต  เช่น  อานันท์  สมัคร  ทักษิณ วรรณพร  สุทธิภา  ประภัสสร
-          ศัพท์ในวรรณคดี  เช่น รามายณะ  รามเกียรติ์  มหาภารตยุทธ  มหาเวสสันดรชาดก
-          ใช้ในคำราชาศัพท์  ศัพท์สุภาพโดยทั่วไป  เช่น  พระโอษ,  พระบรมราโชวาท  ครรภ์  ศีรษะ
-          ใช้ในศัพท์วิชาการ เช่น  ประชามติ  ญัตติ  ปัจเจกบุคคล  สารัตถะ  เอกภาพ  ปรพากษ์  สัทพจน์


หลักการสังเกตคำบาลีและสันสกฤต




บาลี
สันสกฤต
๑.  ใช้สระ ๘  ตัว คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู    เอ  โอ
๒. ใช้ เอ เช่น  เมตตา  เอราวัณ  เวชช
๓.  ใช้  โอ  เช่น โกเสยฺย (โกไสย)  อักโขภิณี  โอฬาริก  โอสาน  โอกาส
๔.   ใช้  อะ  อิ  อุ  เช่น  อมต  กัณหา  หทัย  สติ  สิงคาร  ติณ  อิทธิ  อิสิ  ทิฐิ  อุชุ  รุกข์  อุสภ  ปุจฉา  อุตุ  มุสา

๕.  มีพยัญชนะที่ใช้  ๓๓  ตัว 
๖.  ใช้ ส  เช่น  สุญญ  สันติ  สกุณ  สัตถา  สุทธิ 

๗.  ใช้  ฬ  เช่น จุฬา กีฬา  บีฬ  ครุฬ  เวฬุริยะ   
๘.  ใช้พยัญชนะเรียงพยางค์  เช่น  กิริยา  สามี  ฐาน  ถาวร  ปทุม  เปม  ปิยะ  ปฐม  ปชา  ปกติ  ภัทท  ปีติ  จิต
๙.  ใช้พยัญชนะสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน  เช่น  ธัมม  กัมม  มัคค  สัคค  สัพพ  วัณณ
บาลี
๑.  ใช้สระ ๑๔  ตัว  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  ไอ  เอา  ฤ  ฤา  ฦ  ฦา
๒.  ใช้ไอ  เช่น  ไมตรี  ไอราวัณ  ไวทย
๓.   ใช้เอา,  อว  เช่น  เกาเศยฺย (เกาไศย) อักเษาหิณี  เอาทาริก  อวสาน  อวกาศ
๔.  ใช้  ฤ  เช่น  อมฤต  กฤษณา  หฤทัย  สมฤติ  ศฤงคาร  ตฤณ  ฤทธิ  ฤษี  ทฤษฎี  ฤชุ  พฤกษ์  พฤษภ  ปฤจฉา  ฤดู  มฤษา 
๕.  มีพยัญชนะที่ใช้  ๓๕  ตัว  (ศ ษ)
๖.  สันสกฤตใช้  ศ, ษ  เช่น  ศูนย์  ศานติ  ศกุน  ศาสดา  ศุทธิ 
๗.  ใช้  ฑ  จุฑา  กรีฑา  บีฑา  ครุฑ  ไพฑูรย์
๘.  ใช้อักษรควบกล้ำ  พยัญชนะประสม  เช่น  กริยา  สวามี  สถาน  สถาวร  ปัทมะ  เปรม             ปรียะ  ประถม  ประชา  ปรกติ  ภัทร  ปรีติ  จิตร
๙.  ใช้ตัว  รร  แทน รฺ (ร เรผะ) เช่น  ธรรม  กรรม  มรรค  สวรรค์  สรรพ  วรรณ
สันสกฤต
๑๐. ใช้ ข  หรือ  กข  เช่น  ขัตติยะ  ขีร  ขีณ  ขณะ  ขมา  จักขุ  อักขระ  ภิกษุ  ลักขณะ
๑๑. ใช้  คห  เช่น  สังคหะ  วิคหะ  (วิคฺคห)

๑๒. มีหลักตัวสะกดตัวตาม

๑๐. ใช้  กษ  เช่น  กษัตริย์  กษีร  กษีณ  กษณะ  กษมา  จักษุ   อักษร  ภิกษุ  ลักษณะ
๑๑. ใช้ เคราะห์ ซึ่งแผลงมาจาก  คฺรห  เช่น     สังเคราะห์  วิเคราะห์
๑๒. ไม่มีหลักตัวสะกดตัวตามจากบาลี
 
สังเกตจากตัวสะกดตัวตาม  ในภาษาบาลีได้วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ตัวสะกดตัวตามเอาไว้                 อย่างเป็นระเบียบเรียกว่า “พยัญชนะสังโยค”
**** ๐  นิคหิต หรือ นฤคหิต  ในภาษาบาลีอ่านเป็นเสียง  “ง”   ในภาษาสันสกฤตอ่านเป็นเสียง  “ม”  ****
 
 


                                     แถวที่
วรรค
วรรคกะ  กัณฐชะ  (ฐานคอ)
วรรคจะ  ตาลุชะ  (ฐานเพดาน)
วรรคฏะ  มุทธชะ  (ฐานปุ่มเหงือก)
วรรคตะ  ทันตชะ  (ฐานฟัน)
วรรคปะ  โอษฐชะ  (ฐานปาก)
เศษวรรค
ย  ร  ล  ว  (ศ ษ)  ส  ห  ฬ  ๐

๑.  พยัญชนะแถวที่  ๑  เป็นตัวสะกด  ตามด้วยพยัญชนะแถวที่  ๑,๒  เช่น
            อุกกาบาต  สักกะ  สักการะ  จักกะ  ตักกะ ภิกขุ  ภิกขา  จักขุ  รุกขะ  ทุกข์  กักขฬะ  อักขร  ยักข์  สิกขา  ปัจจุบัน  สัจจะ  ปัจจัย  มัจจุ  โสรัจจะ  นัจจะ  นิจจะ  มัจฉา  ปุจฉา  อิจฉา  วัฏฏะ  ทิฏฐิ  รัฏฐ  อัฏฐิ  สัตตะ  ยุตติ  วิตถาร  โสตถิ  สัตถา  กัปป์  สิปปะ  สัปปุริส  บุปผา  บัปผาสะ


๒.  พยัญชนะแถวทิ่  ๓  เป็นตัวสะกด  ตามด้วยพยัญชนะแถวที่  ๓,๔  เช่น
            อัคคะ  อัคคี  มิคคะ  พยัคฆ์  อุคโฆส  วิชชา เวชช  วัชชะ  อุปัชฌาย์  สัชฌุ  อัชฌาสัย  เลฑฑุ  วุฑฒิ(วุฒิ)  อัฑฒ(อัฒ)  วัฑฒน(วัฒนะ)  รุทท  สมุทท  สิทธิ  ลัทธิ  พุทธ  อิทธิ  มุทธา  ยุทธ  นิพพาน  ทัพพี  คัพภ์  ทัพภ์ 







๓.  พยัญชนะแถวที่  ๕  เป็นตัวสะกดตามด้วยพยัญชนะแถว  ๑-๕  ในวรรคเดียวกัน  เช่น
            สังกร อังกูร  สังข์  สังขาร  สงฆ์  ชงฆ์  อังคาร  องค์  สัญญา  กุญชร  สัญจร  ปัญจะ  กุณฑล  สัณฐาน  กัณฐ์  กุณฑ์  เกณฑ์  ภัณฑ์  มัณฑนะ  มณฑป  สันติ  สันธาน  สันถาร  สนทนา  นันท์  ภินท์  คัมภีร์  กุมภีล์  กัมพล  กมปนาท  สัมผัส  พิมพ์  สมภาร  สมโพธิ


๔.  พยัญชนะเศษวรรคเป็นตัวสะกดตามด้วยตัวมันเอง   เช่น
            อัยยกา(อัยกา)  อัยยิกา  เวยยากรณ์(ไวยากรณ์)  เวเนยย(เวไนย)  บัลลังก์  จุลละ  กัลละ  วัลลภ  มัลละ  ถุลละ  อิสสระ  อิสสริยะ  อัสสะ  มัสสุ  อัสสาะ ปัสสาสะ  พัสสะ  หัสสะ  สิสสะ  อิสสา  รัสสะ  วิสสาสะ
            ในภาษาสันสกฤต  ตัวสะกดตัวตามไม่เป็นไปตามกฏอย่างบาลี  คือ  จะใช้พยัญชนะตัวใดสะกด  พยัญชนะตัวใดตามก็ได้  จะอยู่ในวรรคเดียวกันหรืออยู่ต่างวรรคกันก็ได้  เช่น  อัปสร  สัตย์  มัธยม  ปรัชญา  กลป์  ภิกษุ  ทิพย์ ฯลฯ  (ที่เป็นไปตามกฎอย่างบาลีก็มีบ้าง)  




การนำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้  บางครั้งเราก็ใช้ทั้งสองคำในความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน  เช่น
                        บาลี                              สันสกฤต                       ความหมาย
                        อิทธิ                              ฤทธิ์                              อำนาจศักดิ์สิทธิ์
                        สิงคาร                           ศฤงคาร                         ความรัก,  ความโอ่โถง
                        ติณ                               ตฤณ                             หญ้า
                        อิสริยะ                          ไอศวรรย์                       ความเป็นใหญ่
เวชช                             แพทย์                            แพทย์
                        วุฒิ                                พฤฒิ                             ภูมิรู้,  ความเจริญ
                        อุตุ                                ฤดู                                เวลาตามกำหนด
                        รุกข์                              พฤกษ์                           ต้นไม้
                        อัคค                              อัคร                              เลิศ,  ยอด
                        สัจจะ                            สัตย์                              ความซื่อ, ความจริง
                        อัคคี                              อัคนี                              ไฟ
                        วิชา                               วิทยา                             ความรู้
บางครั้งไทยรับมาใช้ทั้งสองภาษา  แต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน  เช่น
            บาลี                  ความหมาย                                            สันสกฤต           ความหมาย
            อัจฉริยะ             เก่งกาจ  น่าพิศวง                         อัศจรรย์             น่าพิศวง
            เขต                   กำหนดแดน,  ขอบ                                   เกษตร               การเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์
            บาลี                  ความหมาย                                            สันสกฤต           ความหมาย
ฐาน                  ที่ตั้ง,  ที่รองรับ                                        สถาน                ที่ตั้ง,  ประการ
                                                                                                สถานะ              ความเป็นไป, ความเป็นอยู่
            กิริยา                 อาการ  มารยาท ความประพฤติ                  กริยา                 คำที่แสดงกิริยาอาการ
            รัฐ                    แว่นแคว้น                                              ราษฎร               ประชาชน  พลเมือง
            อาณา                อำนาจการปกครอง                                  อาชญา              อำนาจ,  โทษ
            อิสระ                เป็นใหญ่  ปกครองตนเอง                         อิศวร           เรียกชื่อเทพเจ้าหนึ่งในตรีมูรติ



คำบางคำเปลี่ยนความหายไปจากความหมายเดิม เช่น          
                        ความหมายเดิม                                       ความหมายปัจจุบัน
สามานย์            ทั่วไป                                                    ชั่วช้า                                                   
สาธารณ์ ทั่วไป                                                    ชั่วช้า                                                   
ประณาม            น้อมไหว้                                               กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย                            
วิตถาร               ละเอียดแจ่มแจ้ง                                      จิตผิดปกติ,  นอกแบบ,  นอกทาง
พิสดาร              ละเอียดแจ่มแจ้ง,  สวยงาม            แปลกประหลาด,  แปลกพิลึก        
เวทนา               ความรู้สึก                                               รู้สึกเห็นใจ,  สังเวชสลดใจ
ความหมายเดิม                                       ความหมายปัจจุบัน
สัญญา               การจำได้หมายรู้                                      การให้คำมั่น,  ข้อตกลง,  คำมั่น
ปรัชญา              ความรู้                                                   วิชาว่าด้วยความคิด
สงสาร               ผู้ที่ได้รับทุกข์  การเวียนว่ายตายเกิด ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ
                        การท่องเที่ยว
ชฎา                  ผมเกล้า  ผมมวย  ผมถึก  เชิงหนาม เครื่องประดับใช้สวมศีรษะ
อาณา                บัญชา  คำสั่ง                                          อำนาจปกครอง
***จากหนังสือหลักภาษาไทย  อาจารย์จงชัย  เจนหัตถการกิจ อาจารย์ภาษาไทย  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา***






คำเขียน  บาลี  กับสันสกฤตที่มีความหมายเหมือนกัน (พอสังเขป)



บาลี
สันสกฤต
บาลี
สันสกฤต
สัตถา
ศาสดา
วิชชา
วิทย
อาจริย
อาจารย์
มัชฌิม
มัธยม
สัตตุ
ศัตรู
อยุชฺฌิย
อยุธยา
สัตถ
ศัสตรา
ฐาปนา
สถาปนา
จักกี
จักรี
ฐาปนิก
สถาปนิก
ปุตตี
บุตรี
ฐิติ
สถิติ
สภาพ
สวภาพ
ฐิต
สถิต
สักการ
สัตการ
เขตฺต
เกษตร
ขณะ
กษณะ
ฉตฺต
ฉตฺร
อิทธิ
ฤทธิ
โคตฺต
โคตร
ขัย
กษัย
เนตฺต
เนตร
อุตุ
ฤดู
มิตฺติ
มิตร
อัคคี
อัคนี
เมตฺติ
ไมตริ
กัปป์
กัลป์
นิทฺทา
นิทฺรา
สิกขา
ศึกษา
สมุทฺท
สมุทร
วิชา
วิทยา
สุทฺท
ศูทฺร
ฐาน
สถาน
อินฺท
อินทร
สามี
สวามี
ปณีต
ปรณีต
นิจ
นิตย์
ปทีป
ปรทีป
มโน
มนัส
อิตถี
สตรี
ปสูติ
ปรสูติ
ขัตติยะ
กษัตริย์
อิสิ
ฤษี
สปฺป
สรุป
สาลา
ศาลา
สร
ศร






คำไอย  ที่แผลงมาจากเอยฺย  (คำเหล่านี้เป็นคำบาลีทั้งหมด)
            อปเมยฺย  เป็น  อุปไมย                  เชยฺย  เป็น  ไชย                           อสงเขยฺย  เป็น  อสงไขย
            อจินเตยฺย  เป็น  อจินไตย               สาเถยฺย  เป็น  สาไถย                    เวเนยฺย  เป็น  เวไนย
            ภูวเนยฺย  เป็น  ภูวไนย                  เมยฺยราพ  เป็น  ไมยราพ


คำ  ๔  คำนี้เป็นคำสันสกฤตทั้งหมด
            ไสนย                แผลงเป็น           แสนยา  (นุภาพ)
            ไวทย                 แผลงเป็น           แพทย์    (หมอ,  ผู้รักษา)
            ไวศย                 แผลงเป็น           แพศย์    (พ่อค้า)           ไทตยแผลง   เป็น  แทตย์    (ผี,  ยักษ์,  อสูร)
การยืมคำจากภาษาเขมร
            คำเขมรในภาษาไทยส่วนมากมักใช้เป็นคำราชาศัพท์  เช่น  เสวย  เขนย  ขนง  โปรด  เสด็จ  ดำเนิน  ถวาย  ทรง  ผนวช  ประชวร  บรรทม  ธำมรงค์  ประทับ  เพลา  กันแสง  สรง
            คำเขมรที่ใช้ในคำสามัญทั่วไป  เช่น  กระบือ  กระบาล  โตนด  โขมด  จมูก  เสนียด  เพนียด  ตำบล  ถนน  จังหวัด  ทำเนียบ  ลำเนา  ชุมนุม  ชมรม
            คำเขมรที่เป็นคำโดดคล้ายกับภาษาไทย  จนเราเองลืมไปคิดว่าเป็นคำไทยแต่มีหลักสังเกตได้ว่าเป็นคำเขมรเพราะต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ  เช่น  แข (ดวงจันทร์)  บาย (ข้าว)  เมิล (มอง)  ศก (ผม)                     เหิน, เหาะ (เดิน)  อวย (ให้)  อุลิด (แตงโม)


ข้อสังเกตคำเขมร
            ๑.  มักจะสะกดด้วยพยัญชนะ  จ  ญ  ร  ล  ส  เช่น
            เผด็จ  เสด็จ  เสร็จ  โสรจสรง  ตรวจ  ผจัญ  ผจญ  เจริญ  เผชิญ  บำเพ็ญ  ตระการ  จาร  สราญ  ระเมียร  รุหาญ  เมิล  กำนัล  ตำบล  กบาล  กังวล  ควาญ  ทูล  กำธร  กำนล  กำราล  ประมวล  สรรเสริญ  จัญไร  อัญขยม  อัญเชิญ  ตรัส  มลทิน(มนฺทิล)
            ๒.  เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย
            แข  เพ็ญ  ศอ  เรียม  รวง  เนา  ดล  ได  ศก  เมิล  จาร  ทูล  เลิศ  ตรง  ควร  จง  จอง  เสาะ  เพลิง  อวย  มาศ  ทอ(ด่า)  โปรด  กาจ  เลอ  เฌอ  สบ  สรร สรวง  ขาล  ชวด  โดย  เทา  กัน(โกน)
            ๓.  เป็นศัพท์ที่ใช้พยัญชนะควบกล้ำและอักษรนำ
            สนาม  ไผท  ขนง  ผอบ  ผกา  สนุก  ไถง  แถง  เขนย  เสด็จ  พนม  ขนน  มนิมนา  แสดง  สไบ  สบง  ชไม  ฉนวน  เฉนียน  พเยีย  ขมัง  ถนน  ฉนวน  เข่า  ขจี  ขยอก  แสวง เสน่ง  ฉบัง  เฉลียง  สดับ  โขมด  ฉลอง  สดำ    โฉนด  เฉวียน  เฉลา  สลา  เสนียด  ฉบับ  สงัด  ทรวง กราบ  เฉพาะ  กริ้ว  ตระโมจ  โปรด  ตระโบม 

๔.  มักแผลงคำได้  เช่น
            แผลง  ข  เป็น  กระ
ขจาย  เป็น  กระจาย          ขจอก  เป็น  กระจอก        แขส  เป็น  กระแส           ขทง  เป็น  กระทง
ขดาน  เป็น  กระดาน        ขจัด  เป็น  กระจัด             ขม่อม  เป็น  กระหม่อ      เขทย  เป็น  กระเทย
            แผลง  ผ  เป็น  ประ  เป็น  บรร
ผจง  เป็น  ประจง,  บรรจง ผทับ  เป็น  ประทับ          ผจบ  เป็น  ประจบ,  บรรจบ
ผทม  เป็น  ประทม  บรรทม           ผชุม  เป็น  ประชุม           ผสาน  เป็น  ประสาน,  บรรสาน
ผสม  เป็น  ประสม,  บรรสม          เผดียง  เป็น  ประเดียง      ผสบ  เป็น  ประสบ
เผชิญ  เป็น  ประเชิญ                   เผดิม  เป็น  ประเดิม         ผดุง  เป็น  ประดุง
ลาญ  เป็น  ผลาญ,  ประลาญ          ผจาน  เป็น  ประจาน        ผอบ  เป็น  ประอบ           ผกาย  เป็น  ประกาย
            แผลง  เป็น  บัง  บำ  บัน
เผอิญ  เป็น  บังเอิญ          ควร  เป็น  บังควร คม  เป็น  บังคม               เกิด  เป็น  บังเกิด
คับ   เป็น  บังคับ              คัล  เป็น  บังคัล               อาจ  เป็น  บังอาจ บวง  เป็น  บำบวง
เพ็ญ  เป็น  บำเพ็ญ           ปราบ  เป็น  บำราบ          เปรอ  เป็น  บำเรอ            บัด  เป็น  บำบัด
ปราศ  เป็น  บำราศ           ปรุง  เป็น  บำรุง              เหิน  เป็น  บันเหิน           เดิน  เป็น  บันเดิน
ลือ  เป็น  บันลือ               โดย  เป็น  บันโดย            ดาล  เป็น  บันดาล            ดล  เป็นบันดล
            แผลง  เป็น  ๐  และแทรกพยัญชนะ
เกดา  เป็น  กำเดา ติ  เป็น  ตำหนิ                 เถกิง  เป็น  ดำเกิง อาจ  เป็น  อำนาจ
ขจร  เป็น  กำจร               ทลาย  เป็น  ทำลาย           กราบ  เป็น  กำราบ           ตรัส  เป็น  ดำรัส
ตรวจ  เป็น  ตำรวจ           ทํรง่  เป็น  ธำมรงค์          เจียน  เป็น  จำเนียน         ขลัง  เป็น  กำลัง
แหง  เป็น  กำแหง           ชาญ  เป็น ชำนาญ           เถลิง  เป็น  ดำเลิง สรวล  เป็น  สำรวล
ถวาย  เป็น  ตังวาย            เทียบ  เป็น  ทำเนียบ         ตริ  เป็น  ดำริ                  ตรง  เป็น  ดำรง
เจรียง  เป็น  จำเรียง          แสดง  เป็น  สำแดง          จง  เป็น  จำนง                 อวย  เป็น  อำนวย
ถกล  เป็น  ดำกล              พัก  เป็น  พำนัก              เสวย  เป็น  สังเวย            ฉัน  เป็น  จังหัน
เสร็จ  เป็น  สำเร็จ ทูล  เป็น  ทำนูล               ตรับ  เป็น  ตำรับ              เฉพาะ  เป็น  จำเพาะ

***จากหนังสือหลักภาษาไทย  อาจารย์จงชัย  เจนหัตถการกิจ อาจารย์ภาษาไทย  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา***


ขอให้พลังจงสถิตในตัวนักเรียนทุกคน    =____=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุป ประวัติ ม.2 เรื่องอาณาจักรกรุงธนบุรี

สรุปประวัติ ม.2 กลางภาค2 1.        ประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้งกับไทยมากที่สุด ....... ประเทศพม่า 2.        ตำแหน่งผู้ปกครองหัวเมืองชั้น...